วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

ระวังคำหวาน

                  ถึงแม้ว่าคนโบราณจะสอนกันมาว่า "อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก  แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย" ดังนี้ก็ตาม  แต่เราควรระวังคำพูดของคนอื่นโดยเฉพาะคำพูดหวาน ๆ ของคนไว้บ้างก็ดี  น้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่มีรสหวานทิ้งไว้นานเข้าก็เป็นน้ำเมาได้  น้ำคำหวาน ๆของคนบางคนก็ทำให้เราเมาได้เหมือนกัน พอเมาแล้วก็ทำให้หลง ลืมตัวลืมใจ เสียรู้เสียท่า บางครั้งถึงกับเสียเงินเสียทองให้เขาอย่างที่ไม่น่าจะเสียเพาะไปเชื่อคำหวานของเขา  ข้อนี้ให้เราพิจารณาให้ดี ใครมาพูดจาหวาน ๆยกยอเราว่าดีอย่างนั้นเก่งอย่างนี้ ต้องระวังไว้ก่อนที่เดียว อย่าเพิ่งไปหลงไหลได้ปลื้มกับคำพูดของเขาในทันที่  เราจะได้ไม่เสียใจในภายหลัง  ปลาทื่ตายไปส่วนหนึ่ง เพราะถูกเขา  "ยกยอ" ขึ้นมาถ้ามันไม่ติด"ยอ"มันก็ไม่ตาย  จึงควรระวังจะถูก  "ยกยอ"  แล้วจะตายเหมือนปลา

           ที่มา หนังสือคำพ่อ คำแม่ ของพระธรรมกิตติวงศ์        

ความเย่อหยิ่งถือตัว

               อันความเย่อหยิ่งถือตัวนั้น  กล่าวคือเราจะต้องระวังอย่าเป็นคนเย่อหยิ่งถือตัว  อย่าดูถูกดูหมิ่นคนอื่น โดยเฉพาะกับเพื่อนร่วมงานและคนทื่เราติดต่อด้วย รวมถึงคนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกัน เพราะความเย่อหยิ่งถือตัวเป็นกิริยาที่ไม่งาม  ไม่มีใครที่จะชอบคบคนที่เย่อหยิ่งถือตัวแม้แต่ตัวเราเองก็ไม่ชอบคนที่ทำเช่นนั้น
                กิริยาที่ถือว่าเป็นความเย่อหยิ่งถือตัวก็คือการที่ชอบยกตัวข่มผู้อื่น  ชอบคิดว่าตัวเองดีกว่าเด่นกว่าเขา มีความรู้ มีหน้าที่การงานมีฐานะการเงินดีกว่าเขา  แล้วชอบวางตัวอยู่เหนือคนอื่น  ดูถูกดูหมิ่น หรือแสดงกิริยาท่าทางรังเกียจคนที่ด้อยกว่า  เป็นต้น
                คนที่แสดงกิริยาอย่างนี้ออกมา ผู้คนรอบข้างจะรังเกียจไม่อยากเข้าใกล้ และไม่อยากคบหาด้วย  คนที่เย่อหยิ่งถือตัวมักจะถูกโดดเดี่ยว  และต่อสู้ตามลำพังในเมื่อเดือดร้อนอะไรขี้นมา ความรู้ก็ดี ยศศักดิ์ก็ดี  เงินทองก็ดี  ใช่จะช่วยเหลือคนเราให้รอดต้วหรือพ้นภัยได้ทุกอย่างและทุกคราวไม่  บางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็ไม่สามารถช่วยอะไรเราได้เลย  ไมตรีจิตความเป็นเพื่อน และความไม่ถือตัวต่างหากที่สามารถช่วยเราได้ในทุกกรณี  อย่างน้อยก็ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้  คนเราจึงไม่ควรไปก่อความรังเกียจให้เกิดขึ้นแก่คนรอบข้างด้วยการไปดูหมิ่นดูแคลนเขาหรือไปเหยี่ยดหยามเขา .
"สร้างมิตรดีกว่าสร้างศัตรู" คำนี้เขาสอนเขาพูดกันมานานแล้ว

                                       ที่มาของเรื่อง    จากหนังสือคำพ่อคำแม่  ของ  พระธรรมกิตติวงศ์

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

http://s864.photobucket.com/albums/ab206/swhitehousex8/?action=view¤t=011.jpg
book